Skip to main content

SLS / SLES สารสังเคราะห์ที่ผิวแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง

SLS / SLES คืออะไร ทำไมจึงควรหลีกเลี่ยง

 SLS / SLES คืออะไร ทำไมจึงควรหลีกเลี่ยง

ส่วนผสมอเนกประสงค์ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิวและยังสามารถใช้เป็นสารปรับสภาพผิว อิมัลซิไฟเออร์ และตัวทำละลาย  SLS และ SLES ที่ผลิตจากปิโตรเลียมและแหล่งพืช เช่น มะพร้าว และปาล์ม มักผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไปเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีฟองน่าใช้มากขึ้น

 

แล้ว SLS กับ SLES แตกต่างกันยังไง  SLS หรือ sodium dodecyl sulfate สารตัวนี้นิยมใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ที่มีฟองมาก ๆ หน้าที่การทำงานหลักของสารนี้คือ ลดแรงตึงผิวทำให้น้ำมีความตึงผิวลดลง สามารถแทรกซึมเข้าไปยังเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ต้องการล้างได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อสัมผัสกับผิวหนังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองสูง จึงถูกจัดว่าเป็นสารทำความสะอาดที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้มากที่สุดตัวหนึ่ง

 

SLES หรือ Sodium Laureth Sulfate (Sodium Lauryl Ether Sulfate) เป็นสารสกัดจากมะพร้าว ได้รับการพิจารณาว่ามีความอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ หรือแชมพูสระผม) แม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน แต่ SLS ต่างกับ SLES โดยสิ้นเชิง สาร SLES เป็นสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกว่าเนื่องจากเป็นสารประกอบที่เกิดจาก Fatty Alcohol หลายๆ ชนิด

 

สารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกันคือ ทำให้เกิดฟอง ขจัดน้ำมันออกจากผิวหนัง เส้นผม หรือฟัน เราจะพบสารเคมีเหล่านี้ ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างรถ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า


ข้อแตกต่างระหว่างสาร SLS และ SLES คือ รายงานจาก Journal of The American College of Toxicology พบว่า สาร SLS แม้ใช้ในปริมาณความเข้มข้นต่ำก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งมักจะทำให้เกิดความระคายเคืองมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าตา หรือเมื่อใช้กับผิวหนังที่บอบบางจะเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง หรือลุกลามรุนแรงได้


ในขณะที่ สาร SLES พบว่าทำให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่ามาก เพราะมีกระบวนการผลิตที่ดีและซับซ้อนกว่ามาก สารชนิดนี้จึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากกว่า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

 

แม้ว่าจะรุนแรงน้อยแต่ยังมีการศึกษาที่พบว่า SLES ยังเป็นตัวกระตุ้นการระคายเคือง รอยแดง และความเสียหายของเกราะป้องกันผิวหนัง ปัญหาหลักๆ ที่น่ากังวลของ SLES คือ ethoxylation ในระหว่างกระบวนการผลิตที่อาจปนเปื้อนด้วย 1.4-dioxane ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมการก่อตัวของมะเร็ง โดยผลการศึกษาพบ 1.4-dioxane ใน 82% ของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว 76 รายการที่ได้รับการทดสอบ ถึงแม้จะไม่ได้พิสูจน์แล้วว่าเชื่อมโยงโดยตรงกับมะเร็ง แต่ทางเลือกที่ดีที่สุดก็ควรห่างไว้จะดีกว่าไหม!